ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ ย่อมเกิดผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยแง่บวกจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่วนด้านลบคือทำให้เกิดมลพิษ
1. ด้านการรักษาพยาบาล ระบบการรักษาพยาบาลทางไกล คนไข้สามารถใช้บริการของโรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชียวชาญ สามารถพูดคุยกับคนไข้ทางจอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์เพื่อดูอาการ และวินิจฉัยโรคได้ต่าง ๆ มากมาย หรือถ้า เทคโนโลยีเหล่านั้นทำงานผิดพลาดในระบบสำคัญ ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ ผลกระทบนี้ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตและการทำงานของมนุษย์หลาย ๆ ด้าน และต่อสถาบันที่ให้บริการสารสนเทศ ดังนี้ 2. ด้านความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต 2.1 ระบบ “การซื้อสินค้าทางไกล (Tele Shopping ) เช่น การซื้อสินค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การดูโฆษณาสินค้าบนระบบเครือข่าย ติดต่อสื่อสารกับผู้ขายเพื่อ ดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า 2.2 ระบบธนาคารทางไกล(Tele-Banking ) ลูกค้าสามารถใช้บริการธนาคารได้ที่บ้าน เช่นการโอนเงิน การขอดูยอดคงเหลือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของธนาคารที่ผู้นั้นใช้บริการอยู่ 2.3 ด้านความบันเทิง เช่นการเลือกชมภาพยนตร์ที่บ้านโดยใช้บริการ”Video on Demand “ หรือ ”การเลือกชมรายการภาพยนตร์ตามความสนใจ” 2.4 ด้านการศึกษา การเรียนการสอนทางไกล(Tele-Education ) 2.5 ด้านการติดต่อสื่อสาร การใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์(E-mail ) 2.6 ด้านการติดตามข้อมูล ความรู้ข่าวสารเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ช่วยให้การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารระหว่างกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว 2.7 ด้านธุรกิจ ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ(Tele-Conference ) ทำให้ประหยัดเวลาเดินทางไม่ต้องไปร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน ในส่วนที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น ห้องสมุด เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งโครงสร้างการดำเนินงาน การบริหาร และการจัดการ อาคารห้องสมุด และผู้ใช้ห้องสมุด
ผลกระทบทางบวก
1. เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
2. เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกัน อย่างรวดเร็ว
3. มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางการแพทย์ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลกหรือใช้วิธี ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
4. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาวะของสังคม
5. พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการ เรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
6. การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ
7. ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้นผู้ผลิตผลิต สิ้นค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผลกระทบทางลบ
1. ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความ เครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้น ทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การทำงานต้องรวดเร็ว เร่งรีบเพื่อชนะคู่แข่ง ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หากทำไม่ได้ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องยุบเลิกไป เมื่อชีวิตของคนในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศต้องแข่งขัน ก็ย่อมก่อให้เกิดความเครียดสูงขึ้น
2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่า นิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ 3. ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆ เสื่อมสลายลง 4. การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังรรค์กันจะ มีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น 5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วน บุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่ สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง 6. เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร ก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งมากยิ่งขึ้น 7. เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การ สาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ โดยที่ประชาชนของประเทศส่วนมากยังขาดความรู้ใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน สังคมรุ่นใหม่จะยอมรับในเรื่องของความรู้ความสามารถมากกว่ายอมรับวัยวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานเหมืนเช่นเดิม 8. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จัก กันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง 9. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า อีกโรคหนึ่ง คือ โรคคลั่งช้อปปิ้งทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการเสนอสินค้าทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลูกค้าสนใจเข้าไปช้อปปิ้งดูสินค้าต่างๆ ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่สนใจของจิตแพทย์ นอกจากนั้นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคอาร์เอสไอ (Repetitive Strain Injury : RSI) ซึ่งมีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มือ และนิ้วเกิดบาดเจ็บขึ้นเมื่อใช้อวัยวะนั้นบ่อยครั้ง เส้นประสาทรับความรู้สึกเกิดเสียหายไม่รับความรู้สึกหรือรับน้อยลง ทั้งนี้ทั้งนั้นผลกระทบของไอทียังสามารถแบ่งออกได้หลายด้าน ดังนี้ ด้านธุรกิจ
1. ไอทีมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในธุรกิจที่สนใจได้ทันทีทันใด บนพื้นฐานของข้อมูลที่กำหนดให้
2. ไอทีช่วยให้ต้นทุนในการผลิตและการบริการลดลง
3. ลดการติดต่อสื่อสารผ่านคนกลาง โดยผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรงทำให้ลดขั้นตอนในการ สื่อสารและทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง
ด้านสื่อสารมวลชน
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารทำได้รวดเร็ว และ เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
2. ด้วยรูปแบบที่หลากหลายของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลหลายหลายขึ้นอีกทั้งยังให้ข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
ด้านโครงสร้างทางสังคม
1. ทำให้องค์กรเข้าถึงมวลชนได้ง่ายขึ้นทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกันได้มากขึ้น
2. ทำให้ประชาชนมีอำนาจในการต่อรองกับรัฐมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายทำให้ทราบความเลื่อนไหวที่เกิด ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา
1. เกิดการแพร่หลายทางวัฒนธรรมที่มาจากต่างถิ่น เพราะทุกคนสามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่
ในปัจจุบัน
2. ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงด้วยตัวเอง และทันทีทันได้ที่ต้องการเรียนรู้
3. ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษา และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมัน
|
ข้อมูลน่าสนใจค่ะ
ตอบลบเยี่ยมมากเลยค่ะ
ตอบลบ